กฏบัตรคณะกรรมการบริษัท
คณะกรรมการบริษัทมีบทบาทหน้าที่ในการกำหนดกลยุทธ์ นโยบาย และทิศทางการดำเนินธุรกิจของบริษัท ตลอดจนกำกับดูแลบริหารจัดการบริษัทและบริษัทย่อยให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับของบริษัท และมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 1/2558 เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2558 จึงมีมติกำหนดกฎบัตรฉบับนี้เพื่อให้กรรมการบริษัทปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ |
|||
1. | องค์ประกอบของคณะกรรมการบริษัท | ||
บริษัทได้พิจารณาถึงขนาด องค์ประกอบ สัดส่วนกรรมการอิสระ ทักษะ ประสบการณ์ การศึกษา ความสามารถและคุณลักษณะเฉพาะด้าน ตลอดจนเพศและอายุที่เหมาะสม และจำเป็นต่อการนำพาองค์กรสู่วัตถุประสงค์และเป้าหมายที่บริษัทได้กำหนดไว้ | |||
1.1 | คณะกรรมการบริษัทประกอบด้วย กรรมการอย่างน้อย 5 คน และกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดนั้นต้องมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร และกรรมการของบริษัทจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด | ||
1.2 | คณะกรรมการบริษัทประกอบด้วยกรรมการอิสระอย่างน้อย 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการทั้งหมด แต่ต้องไม่น้อยกว่า 3 คน ซึ่งสามารถให้ความเห็นเกี่ยวกับการทำงานของฝ่ายบริหารได้อย่างอิสระ โดยมีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์คุณสมบัติของ “กรรมการอิสระ” ตามข้อกำหนดของคณะกรรมการกำกับตลาดทุน และมีขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบตามที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนด | ||
1.3 | คณะกรรมการบริษัทประกอบด้วย กรรมการตัวแทนตามเงื่อนไขสัญญาสัมปทานจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และกรรมการตัวแทนตามเงื่อนไขสัญญาสัมปทานจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) | ||
1.4 | คณะกรรมการบริษัทประกอบด้วย บุคคลในวงการธุรกิจ นักวิชาการ และจากหลายสาขาอาชีพ มีคุณสมบัติ ทักษะ ประสบการณ์ในงานบริหารและงานปฏิบัติการที่เป็นประโยชน์กับบริษัท มีความรู้ด้านสัญญาสัมปทาน โดยมีกรรมการอย่างน้อย 1 คน ที่มีประสบการณ์ในธุรกิจหรืออุตสาหกรรมหลักที่บริษัทดำเนินการอยู่ | ||
1.5 | ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการไม่เป็นบุคคลเดียวกัน เพื่อเป็นการแบ่งแยกหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย กำกับดูแล และการบริหารงานประจำ โดยคณะกรรมการได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของประธานกรรมการ และกรรมการผู้จัดการอย่างชัดเจน | ||
2. | คุณสมบัติของกรรมการบริษัท | ||
2.1 | เป็นบุคคลที่มีชื่ออยู่ในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การแสดงชื่อบุคคลในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ | ||
2.2 | กรรมการต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ รวมถึงประกาศที่เกี่ยวข้อง และต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ | ||
(1) | เป็นบุคคลที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ บุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ | ||
(2) | เป็นบุคคลที่อยู่ระหว่างถูกตลาดหลักทรัพย์ฯ ห้ามเป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทจดทะเบียน | ||
(3) | อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษ หรือถูกดำเนินคดีอาญาโดยหน่วยงานที่มีอำนาจตามกฎหมาย ในความผิดเกี่ยวกับการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต | ||
(4) | อยู่ระหว่างระยะเวลาที่กำหนดตามคำสั่งขององค์กรที่มีอำนาจตามกฎหมายต่างประเทศ ห้ามมิให้เป็นกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัท | ||
(5) | เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำความผิดตาม (3) หรือเคยถูกเปรียบเทียบปรับเนื่องจากการกระทำความผิดตาม (3) | ||
(6) | มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการประพฤติผิดต่อหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติด้วยความระมัดระวัง (duties of care) และซื่อสัตย์สุจริต (duties of loyalty) เพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของกิจการและผู้ถือหุ้นโดยรวมของกิจการที่ตนเป็นหรือเคยเป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจควบคุม หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วม หรือสนับสนุนการกระทำดังกล่าวของบุคคลอื่น |
||
(7) | มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่ส่อไปในทางไม่สุจริตหรือฉ้อฉลผู้อื่น หรือมี หรือเคยมีส่วนร่วม หรือสนับสนุนการกระทำดังกล่าวของบุคคลอื่น | ||
(8) | มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม หรือการเอาเปรียบผู้ลงทุน หรือมี หรือเคยมีส่วนร่วม หรือสนับสนุนการกระทำดังกล่าวของบุคคลอื่น | ||
(9) | มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมการอำพรางฐานะทางการเงิน หรือผลการดำเนินงานที่แท้จริงของบริษัทจดทะเบียน หรือบริษัทที่เคยเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน หรือจงใจแสดงข้อความอันเป็นเท็จในสาระสำคัญ หรือปกปิดข้อความจริงอันเป็นสาระสำคัญที่ควรบอกให้แจ้งในเอกสารใดๆ ที่ต้องเปิดเผยต่อประชาชนหรือต้องยื่นต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับตลาดทุน หรือคณะกรรมการ ก.ล.ต. ไม่ว่าจะเป็นการกระทำในนามของตนเอง หรือกระทำแทนนิติบุคคล หรือกิจการที่ตนมีอำนาจในการจัดการ หรือมี หรือเคยมีส่วนร่วม หรือสนับสนุนการกระทำดังกล่าวของบุคคลอื่น | ||
(10) | มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการละเลยการตรวจสอบดูแลตามสมควรเยี่ยงกรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทจดทะเบียน หรือบริษัทที่เคยเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนที่ตนเป็นหรือเคยเป็นผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจควบคุม หรือบริษัทย่อยของบริษัทดังกล่าว เพื่อมิให้บริษัทฝ่าฝืนหรือปฏิบัติไม่เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ และข้อบังคับของบริษัท ตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น อันอาจก่อให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในตลาดทุนโดยรวม หรือความเสียหายต่อชื่อเสียง ฐานะ หรือการดำเนินธุรกิจของบริษัทนั้น | ||
(11) | เป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติระบบการชำระเงิน พ.ศ.2560 หรือขาดคุณสมบัติตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด | ||
2.3 | กรรมการต้องมีภาวะผู้นำ วิสัยทัศน์ ความเป็นอิสระในการตัดสินใจ ทักษะ ประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์กับบริษัท ระมัดระวัง ซื่อสัตย์ และสามารถทุ่มเทเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเพียงพอ | ||
2.4 | การดำรงตำแหน่งกรรมการในบริษัทจดทะเบียนอื่น เมื่อรวมบริษัทแล้วจะต้องไม่เกิน 5 แห่ง | ||
3. | บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท | ||
3.1 | กำกับดูแล และจัดการให้การดำเนินงานของบริษัทเป็นไปตามกฎหมาย ภายใต้ขอบเขตวัตถุประสงค์และข้อบังคับของบริษัท ตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น และรักษาผลประโยชน์ของบริษัทและผู้ถือหุ้น บนพื้นฐานของหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ตลอดจนปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์ฯ และสำนักงาน กลต. | ||
3.2 | กำหนดนโยบาย ทิศทางการดำเนินธุรกิจ งบประมาณของบริษัท และควบคุมกำกับดูแลให้ฝ่ายบริหารดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงสุดให้แก่กิจการและความมั่งคั่งสูงสุดให้แก่ผู้ถือหุ้น | ||
3.3 | กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจของบริษัทและบริษัทย่อย โดยมีการทบทวนและอนุมัติร่วมกับฝ่ายบริหารเป็นประจำ | ||
3.4 | จัดให้มีการรายงานข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท และข้อมูลทั่วไปที่สำคัญต่อผู้ถือหุ้นอย่างครบถ้วน ถูกต้อง และเพียงพอ และยืนยันการตรวจสอบรับรองข้อมูลที่รายงาน | ||
3.5 | จัดให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายใน การตรวจสอบภายใน และระบบการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิผล โดยกำหนดให้ฝ่ายบริหารเป็นผู้ปฏิบัติตามนโยบาย และมีการทบทวนระบบ หรือประเมินความเสี่ยงให้สอดคล้องกับกลยุทธ์และเป้าหมายทางธุรกิจ รวมถึงสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งมีการติดตามการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวอย่างสม่ำเสมอ | ||
3.6 | จัดให้มีคณะกรรมการชุดย่อยเพื่อการกำกับดูแลกิจการที่ดี | ||
3.7 | จัดให้มีกฎบัตรคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการชุดย่อย โดยทบทวนให้สอดคล้องเหมาะสมกับกฎระเบียบเป็นประจำ | ||
3.8 | พิจารณาการกำหนดและแยกบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบระหว่างคณะกรรมการ คณะกรรมการชุดย่อย และฝ่ายบริหารอย่างชัดเจน รวมทั้งมีการสื่อสารบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบดังกล่าว ต่อคณะกรรมการ คณะกรรมการชุดย่อย ฝ่ายบริหาร และพนักงานของบริษัทอย่างสม่ำเสมอ | ||
3.9 | แต่งตั้งบุคคลอื่นใดให้ดำเนินกิจการของบริษัท ภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการบริษัท หรือมอบอำนาจเพื่อให้บุคคลดังกล่าวมีอำนาจตามที่คณะกรรมการบริษัทเห็นสมควร และภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการเห็นสมควร และคณะกรรมการบริษัทอาจยกเลิก เพิกถอน เปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขอำนาจนั้นได้ตามความเหมาะสม |
||
3.10 | แต่งตั้งเลขานุการบริษัท เพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบงานด้านเลขานุการบริษัท โดยให้คำแนะนำแก่กรรมการเกี่ยวกับข้อกฎหมาย กฎเกณฑ์ และระเบียบปฏิบัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และดูแลให้บริษัทมีการปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับบริษัท ระเบียบที่เกี่ยวข้อง และหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี พร้อมทั้งสนับสนุนการจัดให้กรรมการและผู้บริหารมีการฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆ และให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการ | ||
3.11 | กำหนดให้กรรมการผู้จัดการรายงานแผนการพัฒนาและสืบทอดงาน สำหรับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ และผู้บริหารระดับสูง ตามแผนการสืบทอดตำแหน่ง (Succession Plan) กรณีที่จะมีการลาออกหรือเกษียณอายุ | ||
4. | บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของประธานกรรมการบริษัท | ||
4.1 | พิจารณากำหนดวาระการประชุมคณะกรรมการบริษัทร่วมกับฝ่ายบริหาร และดูแลให้กรรมการบริษัทได้รับข้อมูลอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ชัดเจน และทันเวลาก่อนการประชุม เพื่อให้กรรมการบริษัทสามารถตัดสินใจได้อย่างเหมาะสมและกำหนดเป้าหมายทางธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ |
||
4.2 | เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการบริษัท | ||
4.2.1 | ดำเนินการประชุมคณะกรรมการบริษัทตามระเบียบวาระ ข้อบังคับของบริษัท และกฎหมาย | ||
4.2.2 | จัดสรรเวลาอย่างเพียงพอ และส่งเสริมให้กรรมการบริษัททุกคนอภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่ เป็นอิสระ และใช้ดุลยพินิจอย่างรอบคอบ โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายอย่างครบถ้วน | ||
4.2.3 | กำหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการบริษัทโดยไม่มีกรรมการบริษัทที่มาจากฝ่ายบริหาร | ||
4.3 | เป็นประธานในการประชุมผู้ถือหุ้นให้เป็นไปตามระเบียบวาระ ข้อบังคับของบริษัท และกฎหมาย โดยจัดสรรเวลาให้เหมาะสม รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นแสดงความคิดเห็นอย่างเท่าเทียม และดูแลให้มีการตอบข้อซักถามของผู้ถือหุ้นอย่างเหมาะสมและโปร่งใส |
||
4.4 | สนับสนุนและเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติตามหลักบรรษัทภิบาลและจรรยาบรรณ | ||
4.5 | เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างคณะกรรมการบริษัทกับฝ่ายบริหาร และสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการผู้จัดการและฝ่ายบริหารตามนโยบายของบริษัท | ||
4.6 | กำกับดูแลให้มีการเปิดเผยข้อมูลและการจัดการอย่างโปร่งใสในกรณีที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ | ||
4.7 | กำกับดูแลให้คณะกรรมการบริษัทมีโครงสร้างและองค์ประกอบที่เหมาะสม | ||
4.8 | กำกับดูแลให้การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทโดยรวม คณะกรรมการชุดย่อย และกรรมการบริษัทแต่ละคน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ | ||
5. | การสรรหากรรมการบริษัท | ||
คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนจะสรรหากรรมการที่มีคุณสมบัติเหมาะสมทั้งในด้านความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ที่จะเป็นประโยชน์กับบริษัท เพื่อแต่งตั้งเป็นกรรมการแทนกรรมการที่พ้นตำแหน่ง ทั้งกรณีที่ลาออกก่อนครบวาระและที่ครบกำหนดออกตามวาระตามหลักเกณฑ์ โดยจะพิจารณาคุณสมบัติที่ต้องการสรรหาจากทักษะที่จำเป็นที่ยังขาดอยู่ในคณะกรรมการ และคุณสมบัติสอดคล้องกับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจของบริษัท | |||
6. | วาระการดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท | ||
6.1 | กรรมการมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับเลือกตั้งใหม่ได้ โดยจำนวนวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการและกรรมการอิสระพิจารณาตามจำเป็นอย่างสมเหตุสมผล | ||
6.2 | ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปีทุกครั้ง ให้กรรมการออกจากตำแหน่ง 1 ใน 3 ถ้าจำนวนกรรมการที่จะแบ่งออกให้ตรงเป็นสามส่วนไม่ได้ ก็ให้ออกโดยจำนวนใกล้ที่สุดกับ ส่วน 1 ใน 3 |
||
7. | การพ้นตำแหน่งของกรรมการบริษัท | ||
นอกจากการพ้นตำแหน่งตามวาระแล้ว กรรมการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ | |||
7.1 | ขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด และ/หรือกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และ/หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท | ||
7.2 | ยื่นใบลาออกต่อบริษัท ซึ่งจะมีผลนับตั้งแต่วันที่ใบลาออกถึงบริษัท | ||
7.3 | ที่ประชุมผู้ถือหุ้นลงมติให้กรรมการคนใดคนหนึ่งออกจากตำแหน่งก่อนถึงคราวออกตามวาระได้ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของผู้ถือหุ้นซึ่งมาประชุมและมีสิทธิออกเสียง และมีหุ้นนับรวมกันได้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนหุ้นที่ถือโดยผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง |
||
7.4 | ศาลมีคำสั่งให้ออก | ||
7.5 | เสียชีวิต | ||
8. | การประชุมคณะกรรมการบริษัท | ||
8.1 | บริษัทกำหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการบริษัทอย่างน้อย 1 ครั้งทุก 3 เดือน และไม่น้อยกว่า 6 ครั้งต่อปี และในการประชุมต้องมีกรรมการเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะครบองค์ประชุม | ||
8.2 | บริษัทกำหนดการประชุมทั้งปีเป็นการล่วงหน้า และแจ้งให้กรรมการทราบกำหนดดังกล่าวล่วงหน้าภายในเดือนธันวาคมของทุกปี เพื่อให้กรรมการสามารถจัดเวลาและเข้าประชุมได้ | ||
8.3 | นำส่งหนังสือเชิญประชุมพร้อมระเบียบวาระการประชุม ซึ่งมีการกำหนดชัดเจนก่อนการประชุมล่วงหน้า 7 วัน และมีการส่งเอกสารประกอบการประชุมเป็นการล่วงหน้าอย่างน้อย 5 วันทำการก่อนการประชุม เพื่อให้คณะกรรมการมีเวลาศึกษาก่อนเข้าประชุม เว้นแต่จำเป็นรีบด่วนเพื่อรักษาสิทธิหรือประโยชน์ของบริษัท หรือจะแจ้งการนัดประชุมโดยวิธีอื่นหรือกำหนดวันประชุมเร็วกว่านั้นก็ได้ | ||
8.4 | ระเบียบวาระการประชุมจะกำหนดขึ้นโดยการพิจารณาร่วมกันระหว่างประธานกรรมการบริษัท และฝ่ายบริหาร รวมทั้งจะจัดให้มีการประชุมระหว่างกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารและไม่มีฝ่ายบริหารเข้าร่วมประชุม 1 ครั้ง ทั้งนี้เพื่อให้กรรมการได้มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดยอิสระ และสามารถติดตามการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ | ||
8.5 | ในการลงมติการประชุม จำนวนองค์ประชุมขั้นต่ำ ณ ขณะที่คณะกรรมการจะลงมติในที่ประชุมต้องมีกรรมการอยู่ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนกรรมการทั้งหมด | ||
8.6 | การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก โดยกรรมการคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งเสียงในการลงคะแนน เว้นแต่กรรมการซึ่งมีส่วนได้เสียเป็นส่วนตัวในเรื่องใด ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในเรื่องนั้น ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด | ||
8.7 | การประชุมทุกครั้ง ประธานกรรมการจะทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ดูแลให้มีการพิจารณาในแต่ละวาระอย่างรอบคอบ และเปิดโอกาสให้กรรมการทุกท่านได้มีการแสดงความคิดเห็นและอภิปรายร่วมกัน และผู้บริหารระดับสูงจะเข้าประชุมเพื่อชี้แจงข้อมูลในฐานะผู้เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานโดยตรงจนเป็นที่พอใจก่อนการลงมติในแต่ละวาระ | ||
8.8 | คณะกรรมการมีนโยบายห้ามกรรมการ และผู้บริหารซึ่งเป็นบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน หรือมีส่วนได้เสียกับวาระที่จะพิจารณาเข้าร่วมประชุม หรือออกเสียงในวาระนั้น โดยฝ่ายบริหารจะแจ้งให้กรรมการและผู้บริหารซึ่งไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมประชุม หรือออกเสียงในวาระนั้นๆ ทราบเป็นการล่วงหน้า ทั้งนี้ การพิจารณาว่าบุคคลที่เกี่ยวโยงกันและผู้มีส่วนได้เสีย คณะกรรมการจะพิจารณาจากรายงานการมีส่วนได้เสีย ซึ่งกรรมการและผู้บริหารทุกคนมีหน้าที่จัดทำรายงานดังกล่าว ตามที่คณะกรรมการมีนโยบายให้กรรมการและผู้บริหารจัดทำรายงานการมีส่วนได้เสีย เพื่อเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวต่อประธานกรรมการบริษัท และประธานกรรมการตรวจสอบ | ||
9. | การประเมินตนเองของคณะกรรมการบริษัท | ||
ประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทเป็นประจำทุกปี โดยมีการประเมินผลการปฏิบัติงานเป็น 2 แบบ คือ ประเมินการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทโดยรวม และประเมินตนเองเป็นรายบุคคล รวมทั้งติดตามผลการประเมินของคณะกรรมการบริษัท และคณะกรรมการชุดย่อย เพื่อพิจารณาร่วมกันในคณะกรรมการบริษัท และทบทวนแบบประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัท และคณะกรรมการชุดย่อยเป็นประจำสม่ำเสมอ | |||
10. | ค่าตอบแทนกรรมการบริษัท | ||
บริษัทมีนโยบายการจ่ายค่าตอบแทนกรรมการโดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้ | |||
10.1 | มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับขอบเขตภาระหน้าที่ความรับผิดชอบของกรรมการแต่ละคน อาทิ การดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัท ประธานคณะกรรมการชุดย่อยต่างๆ และการดำรงตำแหน่งกรรมการชุดย่อย อาทิ คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน และคณะกรรมการบรรษัทภิบาล บริหารความเสี่ยง และการพัฒนาอย่างยั่งยืน จะได้รับค่าตอบแทนเพิ่มตามตำแหน่ง | ||
10.2 | ค่าตอบแทนอยู่ในระดับที่สามารถจูงใจ และรักษากรรมการที่มีความรู้ความสามารถ และมีคุณภาพในการปฏิบัติหน้าที่ให้กับบริษัท | ||
10.3 | องค์ประกอบของค่าตอบแทนมีความชัดเจน โปร่งใส ง่ายต่อการเข้าใจ | ||
10.4 | คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนเป็นผู้พิจารณากลั่นกรองการกำหนดค่าตอบแทนสำหรับกรรมการแต่ละชุดย่อยต่างๆ ซึ่งค่าตอบแทนอยู่ในระดับเดียวกับอุตสาหกรรมเดียวกันและสูงเพียงพอที่จะดูแลและรักษากรรมการที่มีคุณสมบัติที่ต้องการ | ||
11. | การพัฒนากรรมการบริษัท | ||
11.1 | คณะกรรมการบริษัทมีนโยบายในการส่งเสริมและอำนวยความสะดวกให้มีการฝึกอบรม และการให้ความรู้แก่ กรรมการและผู้บริหารของบริษัท เพื่อให้มีการปรับปรุงและการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง ทั้งหลักสูตรการอบรมภายใน และภายนอกบริษัท โดยคณะกรรมการทุกท่านต้องได้รับการฝึกอบรม เพื่อให้เข้าใจการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมการ | ||
11.2 | กำหนดให้ฝ่ายบริหารจัดเอกสารหรือจัดบรรยายสรุป (Briefing) เพื่อให้กรรมการใหม่เข้าใจธุรกิจ และการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการและคณะกรรมการ โดยมอบหมายให้กรรมการผู้จัดการ หรือเลขานุการบริษัท หรือสำนักกรรมการเข้าพบกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งใหม่ โดยจัดให้มีการประชุมร่วมกันกับกรรมการ และ/หรือผู้บริหาร และ/หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อชี้แจงและตอบข้อซักถาม พร้อมทั้งจัดเตรียมเอกสารข้อมูลสรุปให้กรรมการใหม่ได้รับทราบ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท คู่มือกรรมการบริษัทจดทะเบียน หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี จรรยาบรรณ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัท กำหนดการประชุมคณะกรรมการทั้งปี พร้อมกันนี้บริษัทยังได้จัดให้กรรมการได้เข้าร่วมอบรมหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่งตามข้อเสนอแนะของสำนักงาน ก.ล.ต. ซึ่งจัดโดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) |
กฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบ
การจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee) เป็นส่วนหนึ่งของการกำกับดูแลกิจการที่ดี และเป็นประโยชน์แก่การบริหารงานของบริษัท และมีส่วนช่วยให้คณะกรรมการบริษัทเพิ่มความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่มากขึ้น ซึ่งจะมีผลให้การบริหารจัดการเป็นไปเพื่อประโยชน์โดยรวมของบริษัท และเป็นปัจจัยที่สำคัญในการสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่บริษัท | ||
1. | องค์ประกอบของคณะกรรมการตรวจสอบ | |
1.1 | คณะกรรมการตรวจสอบประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นกรรมการอิสระอย่างน้อย 3 คน ประกอบด้วย ประธานกรรมการตรวจสอบ 1 คน และกรรมการตรวจสอบอย่างน้อย 2 คน | |
1.2 | คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้แต่งตั้งกรรมการตรวจสอบ โดยการนำเสนอจากคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน ซึ่งพิจารณาจากกรรมการอิสระของบริษัท | |
1.3 | กรรมการตรวจสอบอย่างน้อย 1 คนต้องมีความรู้ ความเข้าใจ หรือมีประสบการณ์ด้านการบัญชีหรือการเงิน เพียงพอที่จะทำหน้าที่ในการสอบทานความน่าเชื่อถือของงบการเงินได้ | |
2. | คุณสมบัติของคณะกรรมการตรวจสอบ | |
คุณสมบัติทั่วไป กรรมการตรวจสอบต้องมีคุณสมบัติเป็นกรรมการอิสระ ดังนี้ | ||
2.1 | ถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 0.5 ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัท ทั้งนี้ ให้นับรวมการถือหุ้นของผู้ที่เกี่ยวข้องของกรรมการอิสระรายนั้นๆ ด้วย | |
2.2 | ไม่เป็นหรือเคยเป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงาน ลูกจ้าง พนักงาน ที่ปรึกษาที่ได้เงินเดือนประจำ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทย่อยลำดับเดียวกัน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือของผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัท เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีก่อนวันที่ได้รับการแต่งตั้ง ทั้งนี้ ลักษณะต้องห้ามดังกล่าว ไม่รวมถึงกรณีที่กรรมการอิสระเคยเป็นข้าราชการ หรือที่ปรึกษาของส่วนราชการ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัท | |
2.3 | ไม่เป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต หรือโดยการจดทะเบียนตามกฎหมายในลักษณะที่เป็นบิดา มารดา คู่สมรส พี่น้อง และบุตร รวมทั้งคู่สมรสของบุตร ของกรรมการรายอื่น ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอำนาจควบคุม หรือบุคคลที่จะได้รับการเสนอให้เป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทหรือบริษัทย่อย |
|
2.4 | ไม่มีหรือเคยมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัท ในลักษณะที่อาจเป็นการขัดขวางการใช้วิจารณญาณอย่างอิสระของตน รวมทั้งไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ถือหุ้นที่มีนัย หรือผู้มีอำนาจควบคุมของผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัท เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปีก่อนวันที่ได้รับการแต่งตั้งกับ ความสัมพันธ์ทางธุรกิจตามวรรคหนึ่ง รวมถึงการทำรายการทางการค้าที่กระทำเป็นปกติ เพื่อประกอบกิจการ การเช่าหรือให้เช่า อสังหาริมทรัพย์ รายการเกี่ยวกับสินทรัพย์หรือบริการ หรือการให้หรือรับความช่วยเหลือทางการเงิน ด้วยการรับหรือให้กู้ยืม ค้ำประกัน การให้สินทรัพย์เป็นหลักประกันหนี้สิน รวมถึงพฤติการณ์อื่นทำนองเดียวกัน ซึ่งเป็นผลให้บริษัทหรือคู่สัญญามีภาระหนี้ที่ต้องชำระต่ออีกฝ่ายหนึ่ง ตั้งแต่ร้อยละ 3 ของสินทรัพย์ที่มีตัวตนสุทธิของบริษัทหรือตั้งแต่ 20 ล้านบาทขึ้นไป แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า ทั้งนี้ การคำนวณภาระหนี้ดังกล่าวให้เป็นไปตามวิธีการคำนวณมูลค่าของรายการที่เกี่ยวโยงกันตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันโดยอนุโลม แต่ในการพิจารณาภาระหนี้ดังกล่าว ให้นับรวมภาระหนี้ที่เกิดขึ้นในระหว่าง 1 ปีก่อนวันที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบุคคลเดียวกัน |
|
2.5 | ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้สอบบัญชีของบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทและไม่เป็นผู้ถือหุ้นที่มีนัย ผู้มีอำนาจควบคุม หรือหุ้นส่วนของสำนักงานสอบบัญชี ซึ่งมีผู้สอบบัญชีของบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทสังกัดอยู่ เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปีก่อนวันที่ได้รับการแต่งตั้ง |
|
2.6 | ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ให้บริการทางวิชาชีพใดๆ ซึ่งรวมถึงการให้บริการเป็นที่ปรึกษากฎหมายหรือที่ปรึกษาทางการเงิน ซึ่งได้รับค่าบริการเกินกว่า 2 ล้านบาทต่อปี จากบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัท และไม่เป็นผู้ถือหุ้นที่มีนัย ผู้มีอำนาจควบคุม หรือหุ้นส่วนของผู้ให้บริการทางวิชาชีพนั้นด้วย เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปีก่อนวันที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
2.7 | ไม่เป็นกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของกรรมการของบริษัท ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ | |
2.8 | ไม่ประกอบกิจการที่มีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันที่มีนัยกับกิจการของบริษัท หรือบริษัทย่อย หรือไม่เป็นหุ้นส่วนที่มีนัยในห้างหุ้นส่วน หรือเป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงาน ลูกจ้าง พนักงาน ที่ปรึกษา ที่รับเงินเดือนประจำหรือถือหุ้นเกินร้อยละ 1 ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทอื่น ซึ่งประกอบกิจการที่มีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันที่มีนัยกับกิจการของบริษัท หรือบริษัทย่อย | |
2.9 | ไม่มีลักษณะอื่นใดที่ทำให้ไม่สามารถให้ความเห็นอย่างเป็นอิสระเกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัท | |
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับกรรมการตรวจสอบ | ||
2.10 | ไม่เป็นกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทให้ตัดสินใจในการดำเนินการของบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทย่อยลำดับเดียวกัน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัท |
|
2.11 | ไม่เป็นกรรมการของบริษัทใหญ่ บริษัทย่อย หรือบริษัทย่อยลำดับเดียวกัน เฉพาะที่เป็นบริษัทจดทะเบียน | |
2.12 | มีความรู้และประสบการณ์เพียงพอที่จะสามารถทำหน้าที่ในฐานะกรรมการตรวจสอบตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย โดยเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัทและความรู้ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น | |
3. | บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ | |
3.1 | สอบทานให้บริษัทมีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเพียงพอ | |
3.2 | สอบทานให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายใน (Internal Control) และระบบการตรวจสอบภายใน (Internal Audit) ที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล และพิจารณาความเป็นอิสระของหน่วยงานตรวจสอบภายใน ตลอดจนให้ความเห็นชอบในการพิจารณาแต่งตั้ง โยกย้าย เลิกจ้างหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน หรือหน่วยงานอื่นใดที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน | |
3.3 | สอบทานให้บริษัทปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท | |
3.4 | พิจารณา คัดเลือก เสนอแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีความเป็นอิสระ เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทและรวมถึงเสนอค่าตอบแทนและเลิกจ้างบุคคลดังกล่าว การเข้าร่วมประชุมกับผู้สอบบัญชี โดยไม่มีฝ่ายบริหารข้าร่วมประชุมด้วยอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง | |
3.5 | พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ให้เป็นไปตามกฎหมาย และข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่ารายการดังกล่าวสมเหตุสมผลและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท | |
3.6 | จัดทำรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบ โดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัท ซึ่งรายงานดังกล่าวต้องลงนามโดยประธานกรรมการตรวจสอบ และต้องประกอบด้วยข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ | |
(ก) ความเห็นเกี่ยวกับความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นที่เชื่อถือได้ของรายงานทางการเงินของบริษัท (ข) ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอของระบบควบคุมภายในของบริษัท (ค) ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท (ง) ความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของผู้สอบบัญชี (จ) ความเห็นเกี่ยวกับรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (ฉ) จำนวนการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ และการเข้าร่วมประชุมของกรรมการตรวจสอบแต่ละท่าน (ช) ความเห็นหรือข้อสังเกตโดยรวมที่คณะกรรมการตรวจสอบได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎบัตร (Charter) (ซ) รายการอื่นที่เห็นว่าผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไปควรทราบภายใต้ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท |
||
3.7 | กำกับดูแลงานตรวจสอบภายใน โดยสอบทานภารกิจ ขอบเขตการปฏิบัติงาน ความเป็นอิสระ และแผนการพัฒนาและฝึกอบรมบุคลากรตรวจสอบภายในให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ และมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับทิศทางการดำเนินงานของบริษัทและมาตรฐานสากล รวมถึงการพิจารณาและอนุมัติแผนงานตรวจสอบภายในประจำปี | |
3.8 | ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมายอย่างเป็นอิสระในการให้ความเห็นและข้อเสนอแนะ สอดคล้องกับข้อกำหนดและแนวทางปฏิบัติที่ดีสำหรับคณะกรรมการตรวจสอบของตลาดหลักทรัพย์ฯ | |
3.9 | ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ หากพบหรือมีข้อสงสัยว่า มีรายการหรือการกระทำดังต่อไปนี้ ซึ่งอาจมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อฐานะการเงิน และผลการดำเนินงานของบริษัท ให้คณะกรรมการตรวจสอบรายงานต่อคณะกรรมการของบริษัท เพื่อดำเนินการปรับปรุงแก้ไขภายในเวลาที่คณะกรรมการตรวจสอบเห็นสมควร | |
(ก) รายการที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์
(ข) การทุจริตหรือมีสิ่งผิดปกติหรือมีความบกพร่องที่สำคัญในระบบควบคุมภายใน
(ค) การฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท
|
||
3.10 | แต่งตั้งให้ผู้อำนวยการฝ่าย หรือตำแหน่งเทียบเท่าของสำนักตรวจสอบภายในของบริษัททำหน้าที่เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อช่วยสนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบ | |
4. | การสรรหากรรมการตรวจสอบ | |
4.1 | คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้แต่งตั้งกรรมการตรวจสอบ โดยการนำเสนอจากคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน ซึ่งพิจารณาจากกรรมการอิสระของบริษัท | |
4.2 | กรณีมีเหตุที่กรรมการตรวจสอบไม่สามารถอยู่ได้จนครบวาระ และมีผลให้จำนวนสมาชิกน้อยกว่า 3 คน คณะกรรมการบริษัทจะแต่งตั้งกรรมการตรวจสอบจากกรรมการอิสระของบริษัททดแทน ให้ครบอย่างน้อย 3 คนภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่จำนวนสมาชิกไม่ครบ | |
5. | วาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการตรวจสอบ | |
5.1 | กรรมการตรวจสอบมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี | |
5.2 | กรรมการตรวจสอบซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับการแต่งตั้งใหม่อีกได้ โดยจำนวนวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการตรวจสอบพิจารณาตามความจำเป็นอย่างสมเหตุสมผล | |
6. | การพ้นตำแหน่งของกรรมการตรวจสอบ | |
นอกจากการพ้นตำแหน่งตามวาระแล้ว กรรมการตรวจสอบพ้นจากตำแหน่งเมื่อ | ||
6.1 | เสียชีวิต | |
6.2 | ยื่นใบลาออกต่อบริษัท ซึ่งจะมีผลนับตั้งแต่วันที่ใบลาออกถึงบริษัท | |
6.3 | พ้นจากการเป็นกรรมการของบริษัท | |
6.4 | คณะกรรมการบริษัทมีมติให้พ้นจากตำแหน่ง | |
7. | การประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ | |
7.1 | คณะกรรมการตรวจสอบมีกำหนดการประชุมเป็นการล่วงหน้าทั้งปี และแจ้งให้กรรมการตรวจสอบแต่ละท่านทราบกำหนดดังกล่าวล่วงหน้าภายในเดือนธันวาคมของทุกปี เพื่อให้กรรมการตรวจสอบสามารถจัดเวลาและเข้าประชุมได้ | |
7.2 | กำหนดจำนวนครั้งของการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบไม่น้อยกว่า 4 ครั้งต่อปี เพื่อพิจารณางบการเงินรายไตรมาส และเรื่องอื่นๆ ตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ | |
7.3 | ประธานกรรมการตรวจสอบอาจเรียกประชุมคณะกรรรมการตรวจสอบได้เป็นกรณีพิเศษ หากมีการร้องขอจากกรรมการตรวจสอบ เพื่อพิจารณาประเด็นการควบคุมภายใน หรือประเด็นการตรวจสอบภายในที่สำคัญเพิ่มเติมที่ต้องหารือร่วมกัน |
|
7.4 | คณะกรรมการตรวจสอบสามารถเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องอันได้แก่ ฝ่ายจัดการ ผู้ตรวจสอบภายใน ผู้สอบบัญชี และผู้บริหารที่รับผิดชอบเกี่ยวกับบัญชีและการเงิน รวมทั้งผู้บริหารระดับสูงเข้าร่วมประชุมเพื่อให้สารสนเทศ รายละเอียดเพิ่มเติมในฐานะที่เกี่ยวข้องกับวาระการประชุมโดยตรง และให้มีการประชุมร่วมกับผู้สอบบัญชีโดยไม่มีฝ่ายบริหารไม่น้อยกว่า 1 ครั้งต่อปี | |
7.5 | ในการเรียกประชุมให้ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ หรือเลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ โดยคำสั่งของประธานคณะกรรมการตรวจสอบ ส่งหนังสือนัดประชุม ไปยังกรรมการตรวจสอบ |
|
7.6 | บริษัทกำหนดการนำส่งหนังสือเชิญประชุมพร้อมระเบียบวาระเสนอกรรมการตรวจสอบเป็นการล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันประชุม เว้นแต่ในกรณีจำเป็นรีบด่วนเพื่อรักษาสิทธิหรือประโยชน์ของบริษัทจะแจ้งการนัดประชุมโดยวิธีอื่นและกำหนดวันประชุมให้เร็วกว่านั้นก็ได้ และกำหนดการนำส่งเอกสารประกอบการประชุมให้แก่กรรมการตรวจสอบเป็นการล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 5 วันก่อนวันประชุม | |
7.7 | การประชุมคณะกรรมการตรวจสอบต้องมีกรรมการตรวจสอบเข้าร่วมในการประชุมแต่ละครั้ง อย่างน้อยกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะครบเป็นองค์ประชุม | |
7.8 | ในกรณีที่ประธานกรรมการตรวจสอบไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ให้กรรมการตรวจสอบที่มาประชุมเลือกกรรมการตรวจสอบคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม | |
7.9 |
มติที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมากของกรรมการที่มาประชุมครบองค์ประชุม
|
|
8. | การประเมินตนเองของคณะกรรมการตรวจสอบ | |
8.1 | คณะกรรมการตรวจสอบให้ความเห็นการประเมินความเพียงพอของระบบการควบคุมภายในของบริษัทประจำปี เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทพิจารณาและให้ความเห็นตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ และให้เปิดเผยไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (56-1 One Report) ในหัวข้อการควบคุมภายในและรายการระหว่างกัน | |
8.2 |
คณะกรรมการตรวจสอบประเมินผลการปฏิบัติงานด้วยตนเองอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง รวมทั้งการประเมินผลการปฏิบัติตามจรรยาบรรณของบริษัท
|
|
9. | การรายงาน | |
9.1 | คณะกรรมการตรวจสอบต้องรายงานผลการประชุม หรือรายงานอื่นใดที่เห็นว่าคณะกรรมการบริษัทควรทราบต่อคณะกรรมการบริษัทเป็นประจำ | |
9.2 |
ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบพบ หรือมีข้อสงสัย หรือสันนิษฐานว่า อาจมีการทุจริต หรือสิ่งผิดปกติ หรือมีความบกพร่องสำคัญในระบบการควบคุมภายใน
ให้รายงานคณะกรรมการบริษัททันที เพื่อคณะกรรมการบริษัทจะได้หาแนวทางแก้ไขได้ทันเวลา |
กฎบัตรคณะกรรมการบรรษัทภิบาล บริหารความเสี่ยง และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
คณะกรรมการบรรษัทภิบาล บริหารความเสี่ยง และการพัฒนาอย่างยั่งยืน ("คณะกรรมการบรรษัทภิบาลฯ") เป็นคณะกรรมการชุดย่อย ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริษัท เพื่อช่วยกำกับดูแลกิจการในเรื่องเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายและทิศทางการดำเนินงานตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี รวมทั้งจรรยาบรรณธุรกิจ การบริหารความเสี่ยง และการพัฒนาอย่างยั่งยืนของบริษัท | ||
1. | องค์ประกอบของคณะกรรมการบรรษัทภิบาล บริหารความเสี่ยง และการพัฒนาอย่างยั่งยืน | |
1.1 | คณะกรรมการบรรษัทภิบาลฯ ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 4 คน | |
1.2 | ประธานคณะกรรมการบรรษัทภิบาลฯ ต้องเป็นกรรมการอิสระ | |
1.3 | คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้แต่งตั้งกรรมการบรรษัทภิบาล บริหารความเสี่ยง และการพัฒนาอย่างยั่งยืน ("กรรมการบรรษัทภิบาลฯ") โดยพิจารณาจากกรรมการของบริษัท | |
2. | คุณสมบัติของกรรมการบรรษัทภิบาล บริหารความเสี่ยง และการพัฒนาอย่างยั่งยืน | |
2.1 | กรรมการบรรษัทภิบาลฯ ซึ่งเป็นสมาชิกในคณะกรรมการบริษัทจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วน และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด และกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กำหนด รวมทั้งต้องไม่มีลักษณะที่แสดงถึงการขาดความเหมาะสมที่จะได้รับความไว้วางใจให้บริหารจัดการกิจการ ที่มีมหาชนเป็นผู้ถือหุ้นตามที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ประกาศกำหนดโดยจะต้องเป็นบุคคลที่มีชื่ออยู่ในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัท ที่ออกหลักทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การแสดงชื่อบุคคล ในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ | |
2.2 | กรรมการบรรษัทภิบาลฯ ต้องมีภาวะผู้นำ วิสัยทัศน์ ความเป็นอิสระในการตัดสินใจ ทักษะ ประสบการณ์ ที่เป็นประโยชน์กับบริษัท ระมัดระวัง ซื่อสัตย์ และสามารถทุ่มเทเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเพียงพอ | |
3. | บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบรรษัทภิบาล บริหารความเสี่ยง และการพัฒนาอย่างยั่งยืน | |
ด้านบรรษัทภิบาล | ||
3.1 | กำหนดนโยบายด้านการกำกับดูแลกิจการและจรรยาบรรณบริษัท เพื่อนำเสนอคณะกรรมการบริษัท | |
3.2 | ทบทวนความเหมาะสมและความเพียงพอของนโยบายด้านการกำกับดูแลกิจการรวมทั้งจรรยาบรรณบริษัท และแนวปฏิบัติด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมาย และแนวปฏิบัติหรือหลักการที่เป็นสากล เพื่อนำเสนอคณะกรรมการบริษัท | |
3.3 | ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการบริษัทและฝ่ายบริหารในการพัฒนาบรรษัทภิบาลของบริษัท | |
3.4 | ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี และจรรยาบรรณบริษัทอย่างสม่ำเสมอ พร้อมทั้งรายงานให้คณะกรรมการบริษัททราบ | |
ด้านบริหารความเสี่ยง | ||
3.5 | พิจารณานโยบายและแผนงานเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง และการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้เสียร่วมกับฝ่ายบริหาร เพื่อเสนอคณะกรรมการบริษัท | |
3.6 | ดูแลและทบทวนการบริหารความเสี่ยงโดยรวมของบริษัท กลยุทธ์ที่ใช้ในการบริหารความเสี่ยง และระบบเตือนภัยของความเสี่ยงทุกประเภท เพื่อจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารความเสี่ยงของบริษัท | |
3.7 | ให้คำปรึกษาและคำแนะนำในเรื่องการบริหารความเสี่ยงระดับองค์กร รวมถึงส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปรับปรุง และพัฒนาระบบการบริหารความเสี่ยงภายในองค์กรอย่างต่อเนื่อง | |
3.8 | รายงานสถานะความเสี่ยงที่สำคัญของบริษัท รวมถึงการดำเนินการเพื่อลดความเสี่ยงต่อคณะกรรมการบริษัท | |
3.9 | ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนการบริหารความเสี่ยง รวมถึงผลการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้เสีย | |
ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน | ||
3.10 | กำหนดนโยบาย เป้าหมาย และแผนการดำเนินงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนของบริษัท เพื่อสร้างคุณค่าในระยะยาวให้แก่ผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อนำเสนอคณะกรรมการบริษัท | |
3.11 | ให้คำแนะนำ และส่งเสริมให้การดำเนินงานของบริษัทสอดคล้องกับนโยบายด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ ตลอดจนสนับสนุนให้คณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ปฏิบัติตนตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของบริษัทอย่างมีประสิทธิภาพ | |
3.12 | ประเมินและทบทวนเนโยบาย เป้าหมาย และแผนการดำเนินงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้เหมาะสมกับสภาวะการดำเนินธุรกิจ สอดคล้องกับกฎหมายหรือแนวทางปฏิบัติที่ดีในระดับสากล | |
3.13 | ดูแล ติดตาม และประเมินผลการพัฒนาอย่างยั่งยืน ให้มีความสมดุลและมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์สูงสุดกับบริษัทและผู้มีส่วนได้เสีย พร้อมทั้งรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินการต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อทราบ | |
3.14 | พิจารณาทบทวนเกี่ยวกับกฎบัตรนี้ เพื่อให้มีความเหมาะสมและทันสมัยอยู่เสมอ | |
3.15 | สอบทานรายงานการดำเนินงานของคณะกรรมการบรรษัทภิบาลฯ พร้อมเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัท | |
3.16 | ปฏิบัติภารกิจอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย | |
4. | การสรรหากรรมการบรรษัทภิบาล บริหารความเสี่ยง และการพัฒนาอย่างยั่งยืน | |
4.1 | คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้แต่งตั้งกรรมการบรรษัทภิบาลฯ ซึ่งพิจารณาจากกรรมการอิสระและกรรมการของบริษัท | |
4.2 |
กรณีมีเหตุที่กรรมการบรรษัทภิบาลฯ ไม่สามารถอยู่ได้จนครบวาระ และมีผลให้จำนวนสมาชิกน้อยกว่า 4 คน คณะกรรมการบริษัทจะแต่งตั้งกรรมการบรรษัทภิบาลฯ จากกรรมการอิสระและกรรมการของบริษัททดแทนให้ครบถ้วนต่อไปภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่จำนวนสมาชิกไม่ครบ | |
5. | วาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการบรรษัทภิบาล บริหารความเสี่ยง และการพัฒนาอย่างยั่งยืน | |
กรรมการบรรษัทภิบาล ฯ มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี กรรมการบรรษัทภิบาล ฯ ซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับการแต่งตั้งใหม่ได้ โดยจำนวนวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการบรรษัทภิบาลฯ พิจารณาตามความจำเป็นอย่างสมเหตุสมผล | ||
6. | การพ้นตำแหน่งของกรรมการบรรษัทภิบาล บริหารความเสี่ยง และการพัฒนาอย่างยั่งยืน | |
นอกจากการพ้นตำแหน่งตามวาระแล้ว กรรมการบรรษัทภิบาลฯ พ้นจากตำแหน่งเมื่อ | ||
6.1 | เสียชีวิต | |
6.2 | ยื่นใบลาออกต่อบริษัท ซึ่งจะมีผลนับตั้งแต่วันที่ใบลาออกถึงบริษัท | |
6.3 | พ้นจากการเป็นกรรมการของบริษัท | |
6.4 | คณะกรรมการบริษัทมีมติให้พ้นจากตำแหน่ง | |
7. | การประชุมคณะกรรมการบรรษัทภิบาล บริหารความเสี่ยง และการพัฒนาอย่างยั่งยืน | |
7.1 | คณะกรรมการบรรษัทภิบาลฯ มีกำหนดการประชุมเป็นการล่วงหน้าทั้งปี และแจ้งให้กรรมการบรรษัทภิบาลฯ แต่ละท่านทราบกำหนดดังกล่าวล่วงหน้าภายในเดือนธันวาคมของทุกปี เพื่อให้กรรมการบรรษัทภิบาลฯ สามารถจัดเวลาและเข้าประชุมได้ | |
7.2 | กำหนดจำนวนครั้งของการประชุมคณะกรรมการบรรษัทภิบาลฯ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง | |
7.3 | ประธานกรรมการบรรษัทภิบาลฯ อาจเรียกประชุมคณะกรรรมการบรรษัทภิบาลฯ ได้เป็นกรณีพิเศษ หากมีการร้องขอจากกรรมการบรรษัทภิบาลฯ เพื่อพิจารณาประเด็นความเสี่ยงองค์กรที่สำคัญเพิ่มเติมที่ต้องหารือร่วมกัน | |
7.4 | คณะกรรมการบรรษัทภิบาลฯ อาจเชิญบุคคลที่รับผิดชอบ หรือเกี่ยวข้องกับเรื่องที่อยู่ในวาระการประชุมเข้าร่วมประชุม หรือนำเสนอข้อมูลได้ | |
7.5 |
นำส่งหนังสือเชิญประชุมพร้อมระเบียบวาระเสนอกรรมการบรรษัทภิบาลฯ เป็นการล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันประชุม เว้นแต่ในกรณีจำเป็นรีบด่วนเพื่อรักษาสิทธิหรือประโยชน์ของบริษัท หรือจะแจ้งการนัดประชุมโดยวิธีอื่นและกำหนดวันประชุมให้เร็วกว่านั้นก็ได้ และนำส่งเอกสารประกอบ การประชุมให้แก่กรรมการบรรษัทภิบาลฯ เป็นการล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 5 วันก่อนวันประชุม |
|
7.6 | การประชุมคณะกรรมการบรรษัทภิบาลฯ ต้องมีกรรมการบรรษัทภิบาลฯ เข้าร่วมในการประชุม แต่ละครั้งอย่างน้อยกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะครบเป็นองค์ประชุม | |
7.7 | ในกรณีที่ประธานกรรมการบรรษัทภิบาลฯ ไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการบรรษัทภิบาลฯ ที่มาประชุมเลือกกรรมการบรรษัทภิบาลฯ คนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม | |
7.8 | มติที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมากของกรรมการบรรษัทภิบาลฯ ที่มาประชุมครบองค์ประชุม | |
8. | การประเมินตนเองของคณะกรรมการบรรษัทภิบาล บริหารความเสี่ยง และการพัฒนาอย่างยั่งยืน | |
คณะกรรมการบรรษัทภิบาลฯ ประเมินผลการปฏิบัติงานด้วยตนเองอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง รวมทั้งการประเมินผลการปฏิบัติตามจรรยาบรรณของบริษัท |
กฎบัตรคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน
คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนเป็นคณะกรรมการชุดย่อยเพื่อกำกับดูแลกิจการที่ดี ในเรื่องเกี่ยวกับกระบวนการสรรหาบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเพื่อดำรงตำแหน่งกรรมการ และกรรมการผู้จัดการ รวมทั้งการพิจารณาหลักเกณฑ์ในการจ่ายและรูปแบบค่าตอบแทนของกรรมการและกรรมการผู้จัดการ ให้เป็นไปด้วยความโปร่งใสและเป็นธรรม เพื่อเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการบริษัทพิจารณาดำเนินการต่อไป | ||
1. | องค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน | |
1.1 | คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนประกอบด้วยสมาชิก 4 คน โดยสมาชิกไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งเป็นกรรมการอิสระ | |
1.2 | ประธานคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนต้องเป็นกรรมการอิสระ | |
1.3 | คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้แต่งตั้งกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน โดยพิจารณาจากกรรมการของบริษัท | |
2. | คุณสมบัติของกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน | |
2.1 | กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน ซึ่งเป็นสมาชิกในคณะกรรมการบริษัทจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด และกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กำหนด รวมทั้งต้องไม่มีลักษณะที่แสดงถึงการขาดความเหมาะสมที่จะได้รับความไว้วางใจให้บริหารจัดการกิจการที่มีมหาชนเป็นผู้ถือหุ้นตามที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ประกาศกำหนด โดยจะต้องเป็นบุคคลที่มีชื่ออยู่ในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การแสดงชื่อบุคคลในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ |
|
2.2 | กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน ต้องมีภาวะผู้นำ วิสัยทัศน์ ความเป็นอิสระในการตัดสินใจ ทักษะ ประสบการณ์ ที่เป็นประโยชน์กับบริษัท ระมัดระวัง ซื่อสัตย์ และสามารถทุ่มเทเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเพียงพอ | |
3. | บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน | |
3.1 | พิจารณาหลักเกณฑ์และกระบวนการในการสรรหา รวมทั้งคัดเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท โดยคำนึงถึงองค์ประกอบของคณะกรรมการ ความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ตามองค์ประกอบใน Board Skill Matrix เพื่อนำเสนอคณะกรรมการบริษัทพิจารณาแต่งตั้ง หรือพิจารณานำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติแต่งตั้งกรรมการต่อไป ตลอดจนทบทวนและประเมินโครงสร้างของคณะกรรมการบริษัทในเรื่องของความหลากหลาย และรายงานให้คณะกรรมการบริษัททราบเป็นประจำทุกปี | |
3.2 | พิจารณาคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการและนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาแต่งตั้ง | |
3.3 | พิจารณากำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาค่าตอบแทนกรรมการและกรรมการผู้จัดการ | |
3.4 | พิจารณากำหนดค่าตอบแทนของกรรมการและนำเสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติ | |
3.5 | พิจารณากำหนดเงินเดือนและการปรับอัตราเงินเดือนและผลตอบแทนอื่นของกรรมการผู้จัดการและนำเสนอคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาอนุมัติ | |
3.6 | ปฏิบัติภารกิจอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย | |
4. | การสรรหากรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน | |
4.1 | คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้แต่งตั้งกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน ซึ่งพิจารณาจากกรรมการอิสระและกรรมการของบริษัท | |
4.2 | กรณีมีเหตุที่กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน ไม่สามารถอยู่ได้จนครบวาระ และมีผลให้จำนวนสมาชิกน้อยกว่า 4 คน คณะกรรมการบริษัทจะแต่งตั้งกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน จากกรรมการอิสระและกรรมการของบริษัททดแทนให้ครบถ้วนต่อไปภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่จำนวนสมาชิกไม่ครบ | |
5. | วาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน | |
กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน ซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับการแต่งตั้งใหม่ได้ โดยจำนวนวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน พิจารณาตามความจำเป็นอย่างสมเหตุสมผล | ||
6. | การพ้นตำแหน่งของกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน | |
นอกจากการพ้นตำแหน่งตามวาระแล้ว กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนพ้นจากตำแหน่งเมื่อ | ||
6.1 | เสียชีวิต | |
6.2 | ยื่นใบลาออกต่อบริษัท ซึ่งจะมีผลนับตั้งแต่วันที่ใบลาออกถึงบริษัท | |
6.3 | พ้นจากการเป็นกรรมการของบริษัท | |
6.4 | คณะกรรมการบริษัทมีมติให้พ้นจากตำแหน่ง | |
คณะกรรมการอาจแต่งตั้งบุคคลใดให้เป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนได้ โดยให้เปิดเผยข้อมูลของที่ปรึกษานั้นไว้ในรายงานประจำปี รวมทั้งความเป็นอิสระ หรือไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ | ||
7. | การประชุมคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน | |
7.1 | คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนมีกำหนดการประชุมเป็นการล่วงหน้าทั้งปี และแจ้งให้กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนแต่ละท่านทราบกำหนดดังกล่าวล่วงหน้าภายในเดือนธันวาคมของทุกปี เพื่อให้กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนสามารถจัดเวลาและเข้าประชุมได้ | |
7.2 | กำหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนไม่น้อยกว่า 2 ครั้งต่อปี เพื่อพิจารณาวาระประจำปีในการสรรหาบุคคลที่เหมาะสมเพื่อเสนอแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัทแทนกรรมการที่พ้นตำแหน่งตามวาระ และพิจารณากลั่นกรองค่าตอบแทนกรรมการประจำปีและโบนัส เพื่อนำเสนอที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี และในกรณีจำเป็นเพื่อการสรรหาบุคคลเพื่อเสนอแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัทแทนกรรมการที่พ้นตำแหน่งก่อนครบวาระ หรือกรณีต้องมีการทบทวนหลักเกณฑ์การสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนใหม่ให้สอดคล้องกับสภาพธุรกิจหรือข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องหรือมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น จะแจ้งการนัดประชุมโดยวิธีอื่นและกำหนดวันประชุมเพิ่มเติมได้ | |
7.3 | นำส่งหนังสือเชิญประชุมพร้อมระเบียบวาระเสนอกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนเป็นการล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันประชุม เว้นแต่ในกรณีจำเป็นรีบด่วน เพื่อรักษาสิทธิหรือประโยชน์ของบริษัท หรือจะแจ้งการนัดประชุมโดยวิธีอื่นและกำหนดวันประชุมให้เร็วกว่านั้นก็ได้ และนำส่งเอกสารประกอบการประชุมให้แก่กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนเป็นการล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 5 วันก่อนวันประชุม | |
7.4 | การประชุมคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนต้องมีกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนเข้าร่วมในการประชุมแต่ละครั้งอย่างน้อยกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะครบเป็นองค์ประชุม | |
7.5 | ในกรณีที่ประธานกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนที่มาประชุมเลือกกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม | |
7.6 | มติที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมากของกรรมการที่มาประชุมครบองค์ประชุม | |
8. | การประเมินตนเองของคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน | |
คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนประเมินผลการปฏิบัติงานด้วยตนเองอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง รวมทั้งการประเมินผลการปฏิบัติตามจรรยาบรรณของบริษัท |
กฎบัตรคณะกรรมการบริหาร
คณะกรรมการบริหารเป็นคณะกรรมการชุดย่อยซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริษัทเพื่อช่วยในการให้คำแนะนำ คำปรึกษาแก่ฝ่ายบริหาร และตรวจสอบการดำเนินงานให้เป็นไปตามนโยบายและแผนงานที่กำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และพิจารณากลั่นกรองเรื่องที่จะนำเสนอคณะกรรมการบริษัทพิจารณาอนุมัติ | ||
1. | องค์ประกอบของคณะกรรมการบริหาร | |
1.1 | คณะกรรมการบริหารประกอบด้วยสมาชิกไม่น้อยกว่า 5 คน | |
1.2 | คณะกรรมการบริษัทจะเลือกกรรมการบริหารคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการบริหาร ในกรณีที่คณะกรรมการบริษัทพิจารณาเห็นสมควรอาจจะเลือกกรรมการบริหารคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นรองประธานกรรมการบริหารก็ได้ | |
1.3 | คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้แต่งตั้งกรรมการบริหาร โดยพิจารณาจากกรรมการของบริษัท | |
2. | คุณสมบัติของกรรมการบริหาร | |
2.1 | กรรมการบริหาร ซึ่งเป็นสมาชิกในคณะกรรมการบริษัทจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด และกฏหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กำหนด รวมทั้งต้องไม่มีลักษณะที่แสดงถึงการขาดความเหมาะสมที่จะได้รับความไว้วางใจให้บริหารจัดการกิจการที่มีมหาชนเป็นผู้ถือหุ้นตามที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ประกาศกำหนด โดยจะต้องเป็นบุคคลที่มีชื่ออยู่ในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์การแสดงชื่อบุคคลในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ | |
2.2 | กรรมการบริหารต้องมีภาวะผู้นำ วิสัยทัศน์ ความเป็นอิสระในการตัดสินใจ ทักษะ ประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์กับบริษัท ระมัดระวัง ซื่อสัตย์ และสามารถทุ่มเทเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเพียงพอ | |
3. | บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริหาร | |
3.1 | ให้แนวนโยบาย กำกับดูแล ให้คำแนะนำ คำปรึกษา แก่กรรมการผู้จัดการ และฝ่ายบริหาร | |
3.2 | กำหนดแผนธุรกิจ งบประมาณ และอำนาจการบริหารต่างๆ ของบริษัทตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท | |
3.3 | ตรวจสอบติดตามการดำเนินงานตามนโยบายและแผนงานด้านต่างๆ ของบริษัทให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ | |
3.4 | ศึกษาความเป็นไปได้สำหรับการลงทุนโครงการใหม่ๆ เพื่อขยายและต่อยอดธุรกิจ | |
3.5 | มีอำนาจที่จะอนุมัติการเข้าทำนิติกรรมใดๆ ซึ่งมีผลผูกพันบริษัทในวงเงินไม่เกิน 500,000,000 บาท ต่อการทำนิติกรรมแต่ละครั้ง ทั้งนี้ ไม่รวมถึงรายการที่มีความขัดแย้งหรือมีส่วนได้เสียกับบริษัท หรือบริษัทย่อยของบริษัท ตามประกาศของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้งรายการที่ต้องขอความเห็นชอบจากผู้ถือหุ้นตามข้อกำหนดของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ฯ | |
3.6 | มีอำนาจอนุมัติ แต่งตั้ง การปลด การกำหนดเงินเดือน และผลตอบแทนอื่นๆ รวมทั้งค่าใช้จ่าย และสิ่งอำนวยความสะดวกของเจ้าหน้าที่หรือพนักงานบริษัทซึ่งมีตำแหน่งตั้งแต่ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการขึ้นไป แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงกรรมการผู้จัดการ | |
3.7 | คณะกรรมการบริหาร หรือประธานกรรมการบริหาร มีอำนาจเรียกประชุมคณะกรรมการบริหาร และ/หรือกำหนดระเบียบข้อบังคับของการประชุมตามที่เห็นสมควร | |
3.8 | รายงานผลการดำเนินงานของบริษัทให้คณะกรรมการบริษัทรับทราบ | |
3.9 | ปฏิบัติภารกิจอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท | |
4. | การสรรหากรรมการบริหาร | |
4.1 | คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้แต่งตั้งกรรมการบริหาร ซึ่งพิจารณาจากกรรมการของบริษัท | |
4.2 | กรณีมีเหตุที่กรรมการบริหารไม่สามารถอยู่ได้จนครบวาระ และมีผลให้จำนวนสมาชิกน้อยกว่า 5 คน คณะกรรมการบริษัทจะแต่งตั้งกรรมการบริหารจากกรรมการของบริษัททดแทนให้ครบถ้วนต่อไปภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่จำนวนสมาชิกไม่ครบ | |
5. | วาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการบริหาร | |
กรรมการบริหารมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี กรรมการบริหารซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับการแต่งตั้งใหม่ได้ โดยจำนวนวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการบริหารพิจารณาตามความจำเป็นอย่างสมเหตุสมผล | ||
6. | การพ้นตำแหน่งของกรรมการบริหาร | |
นอกจากการพ้นตำแหน่งตามวาระแล้ว กรรมการบริหารพ้นจากตำแหน่งเมื่อ | ||
6.1 | เสียชีวิต | |
6.2 | ยื่นใบลาออกต่อบริษัท ซึ่งจะมีผลนับตั้งแต่วันที่ใบลาออกถึงบริษัท | |
6.3 | พ้นจากการเป็นกรรมการของบริษัท | |
6.4 | คณะกรรมการบริษัทมีมติให้พ้นจากตำแหน่ง | |
7. | การประชุมคณะกรรมการบริหาร | |
7.1 | คณะกรรมการบริหารมีกำหนดการประชุมเป็นการล่วงหน้าทั้งปี และแจ้งให้กรรมการบริหารแต่ละท่านทราบกำหนดดังกล่าวล่วงหน้าภายในเดือนธันวาคมของทุกปี เพื่อให้กรรมการบริหารสามารถจัดเวลาและเข้าประชุมได้ | |
7.2 | กำหนดจำนวนครั้งของการประชุมคณะกรรมการบริหารไม่น้อยกว่า 12 ครั้งต่อปี | |
7.3 | ประธานกรรมการบริหาร และกรรมการผู้จัดการร่วมกันพิจารณาวาระการประชุมคณะกรรมการบริหาร | |
7.4 | นำส่งหนังสือเชิญประชุมพร้อมระเบียบวาระเสนอกรรมการเป็นการล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันประชุม เว้นแต่ในกรณีจำเป็นรีบด่วนเพื่อรักษาสิทธิหรือประโยชน์ของบริษัท หรือจะแจ้งการนัดประชุมโดยวิธีอื่นและกำหนดวันประชุมให้เร็วกว่านั้นก็ได้ และนำส่งเอกสารประกอบการประชุมให้แก่กรรมการเป็นการล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 5 วันก่อนวันประชุม | |
7.5 | การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการเข้าร่วมในการประชุมแต่ละครั้งต้องไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะครบองค์ประชุม | |
7.6 | ในกรณีที่ประธานกรรมการบริหารไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ให้กรรมการบริหารที่มาประชุมเลือกกรรมการบริหารคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม | |
7.7 | การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก โดยกรรมการบริหารคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งเสียงในการลงคะแนน เว้นแต่กรรมการบริหารซึ่งมีส่วนได้เสียในเรื่องใด ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในเรื่องนั้น และกรรมการบริหารซึ่งเป็นบุคคลที่เกี่ยวโยงกันหรือมีส่วนได้เสียกับวาระที่จะพิจารณาต้องไม่เข้าร่วมประชุมหรือออกเสียงในวาระนั้น | |
8. | การประเมินตนเองของคณะกรรมการบริหาร | |
คณะกรรมการบริหารประเมินผลการปฏิบัติงานด้วยตนเองอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง รวมทั้งการประเมินผลการปฏิบัติตามจรรยาบรรณของบริษัท |
ศูนย์บริการข้อมูลรถไฟฟ้า MRT
วันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 07.00-20.00 น.
วันเสาร์-อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น.
BEM
- รู้จัก BEM
- เกี่ยวกับเรา
- เหตุการณ์สำคัญ
- ข้อมูลพื้นฐาน BEM
- ลักษณะการประกอบธุรกิจ
- สารจากประธานกรรมการบริษัท
- โครงสร้างองค์กร
- คณะกรรมการบริษัท
- คณะกรรมการตรวจสอบ
- คณะกรรมการสรรหาและกําหนดค่าตอบแทน
- คณะกรรมการบรรษัทภิบาล บริหารความเสี่ยง และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
- คณะกรรมการบริหาร
- คณะผู้บริหาร
- การกํากับดูแลกิจการ
- คู่มือบรรษัทภิบาล
- วิสัยทัศน์และพันธกิจ
- เป้าหมายและกลยุทธ์ธุรกิจ
- นโยบายบริษัท
- กฎบัตรคณะกรรมการ
- ข้อบังคับบริษัท
- จรรยาบรรณบริษัท
- จรรยาบรรณนักลงทุนสัมพันธ์
- จรรยาบรรณธุรกิจสำหรับคู่ค้า
- ติดต่อเลขานุการบริษัท
- ศูนย์ข้อมูลส่วนบุคคล
- การแจ้งเตือนให้นําข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบ
- การพัฒนาอย่างยั่งยืน
ข่าวประชาสัมพันธ์
ร่วมธุรกิจกับ BEM
- พัฒนาเชิงพาณิชย์
- จัดซื้อจัดจ้าง
ร่วมงานกับ BEM
- ร่วมงานกับ BEM
สงวนลิขสิทธิ์ © พ.ศ.2561 บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
Member of , APTA and COMET
BANGKOK MRT
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
ตอบรับไลฟ์สไตล์คนเมืองด้วยแอปพลิเคชัน Bangkok MRT ทำให้วางแผนการเดินทางเป็นเรื่องง่ายแค่ปลายนิ้วสำหรับคุณ มีครบทั้งข้อมูลรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีม่วง เช่น แผนที่เส้นทางรถไฟฟ้า แผนผังบริเวณสถานี สิ่งอำนวยความสะดวก ข่าวสารและกิจกรรม พร้อมทั้งฟังก์ชันต่างๆ ให้คุณเลือกใช้อีกเพียบ...