- รู้จัก BEM
- คณะกรรมการบรรษัทภิบาล บริหารความเสี่ยง และการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ประธานกรรมการบรรษัทภิบาล บริหารความเสี่ยง
และการพัฒนาอย่างยั่งยืน

กรรมการบรรษัทภิบาล บริหารความเสี่ยง
และการพัฒนาอย่างยั่งยืน

กรรมการบรรษัทภิบาล บริหารความเสี่ยง
และการพัฒนาอย่างยั่งยืน

กรรมการบรรษัทภิบาล บริหารความเสี่ยง
และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2565
รายงานคณะกรรมการบรรษัทภิบาลและบริหารความเสี่ยง
คณะกรรมการบรรษัทภิบาลและบริหารความเสี่ยงได้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท โดยทำหน้าที่พัฒนาและเสนอแนะนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัท ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติตามแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดี พิจารณาแผนบริหารความเสี่ยง กระบวนการบริหารความเสี่ยง รวมถึงการติดตาม ตรวจสอบ และทบทวนความเสี่ยงโดยรวมของบริษัทให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้
รายนามคณะกรรมการบรรษัทภิบาลและบริหารความเสี่ยง ระหว่างวันที่ 18 ธันวาคม 2562 ถึงวันที่ 14 ธันวาคม 2564
1. นางวัลลภา อัสสกุล ประธานคณะกรรมการบรรษัทภิบาลและบริหารความเสี่ยง
2. นายพงษ์สฤษดิ์ ตันติสุวณิชย์กุล กรรมการบรรษัทภิบาลและบริหารความเสี่ยง
3. ดร. สมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการบรรษัทภิบาลและบริหารความเสี่ยง
4. นางพเยาว์ มริตตนะพร กรรมการบรรษัทภิบาลและบริหารความเสี่ยง
รายนามคณะกรรมการบรรษัทภิบาลและบริหารความเสี่ยง ระหว่างวันที่ 15 ธันวาคม 2564 ถึงปัจจุบัน
1. ศ. (พิเศษ) อรรถพล ใหญ่สว่าง ประธานคณะกรรมการบรรษัทภิบาลและบริหารความเสี่ยง
2. นางวัลลภา อัสสกุล กรรมการบรรษัทภิบาลและบริหารความเสี่ยง
3. นายพงษ์สฤษดิ์ ตันติสุวณิชย์กุล กรรมการบรรษัทภิบาลและบริหารความเสี่ยง
4. ดร. สมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการบรรษัทภิบาลและบริหารความเสี่ยง
ในปี 2564 มีการประชุมร่วมกับคณะผู้บริหารระดับสูง จำนวน 2 ครั้ง สรุปสาระสำคัญดังนี้
1. การกำกับดูแลให้บริษัทปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี
คณะกรรมการได้ติดตามและทบทวนแนวปฏิบัติด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี และได้นำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาทบทวนและปรับปรุงนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยในปี 2564 คณะกรรมการบริษัทได้เห็นชอบให้ปฏิบัติเพิ่มเติมในเรื่องดังต่อไปนี้
- ให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของกรรมการเป็นรายบุคคล เริ่มตั้งแต่ปี 2564
- ปรับปรุงนโยบาย เรื่องการซื้อขายหลักทรัพย์โดยกำหนดมาตรการป้องกันการใช้ข้อมูลภายใน โดยกำหนดให้กรรมการและผู้บริหารหลีกเลี่ยงหรืองดทำการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทในช่วง 1 เดือนก่อนมีการเปิดเผยงบการเงินรายไตรมาสและงบการเงินประจำปี
ในปีที่ผ่านมาบริษัทยังคงได้รับผลสำรวจการกำกับดูแลกิจการของบริษัทอยู่ในระดับดีเลิศ ผลการประเมินคุณภาพการจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปีอยู่ในเกณฑ์ดีเยี่ยม บริษัทได้รับการประกาศรายชื่อให้เป็นหนึ่งใน 146 บริษัทจดทะเบียนที่อยู่ในกลุ่มหุ้นยั่งยืน (Thailand Sustainability Investment) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 ถือเป็นบริษัทจดทะเบียนที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environmental, Social and Governance หรือ ESG )
2. การบริหารความเสี่ยง
คณะกรรมการได้ร่วมกับผู้บริหารระดับสูงพิจารณาการปฏิบัติตามแผนการบริหารความเสี่ยงประจำปี 2564 ทบทวนและติดตามการบริหารความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงติดตามความเคลื่อนไหว แนวโน้ม เพื่อทบทวนแผนบริหารความเสี่ยงและกลยุทธ์ที่ใช้ในการบริหารความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ เหมาะสม ทันเวลากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง และสอดคล้องกับแผนงานของบริษัท และได้เห็นชอบแผนบริหารความเสี่ยง ประจำปี 2565
ในปี 2564 บริษัทยังคงเผชิญกับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ซึ่งรุนแรงกว่าปีที่ผ่านมา ในปีนี้คณะกรรมการบรรษัทภิบาลและบริหารความเสี่ยง จึงได้ให้ความสำคัญในส่วนที่เกี่ยวกับการให้บริการและการบริหารสภาพคล่องทางการเงิน เนื่องจากรายได้หลักได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก ซึ่งบริษัทได้มีการบริหารจัดการต้นทุนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ประกอบกับการที่มีรายได้เงินปันผลอย่างสม่ำเสมอจากการลงทุนที่ดี ทำให้บริษัทไม่มีปัญหาด้านสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ ในด้านการให้บริการบริษัทได้มีการดำเนินมาตรการหลายประการ เพื่อให้เกิดความสมดุลของการให้บริการและความปลอดภัยด้านสาธารณสุขของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคน
โดยสรุป คณะกรรมการบรรษัทภิบาลและบริหารความเสี่ยงมีความมั่นใจว่าบริษัทมีการปฏิบัติที่สอดคล้องกับหลักการและแนวทางปฏิบัติในการกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยงมีความต่อเนื่องและดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับเหตุการณ์ฉุกเฉินไว้อย่างรอบด้านเป็นการล่วงหน้า เพื่อให้บริษัทสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องและดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน

( ศ. (พิเศษ) อรรถพล ใหญ่สว่าง )
ประธานกรรมการบรรษัทภิบาลและบริหารความเสี่ยง
กิจกรรมเพื่อสังคม
บริษัท ในฐานะผู้ให้บริการทางพิเศษ และรถไฟฟ้า ด้วยความมุ่งมั่นดำเนินงานตามเจตนารมณ์ที่จะมีส่วนช่วยบรรเทาปัญหาจราจรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยการเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนและคมนาคมแบบครบวงจร
ศูนย์บริการข้อมูลรถไฟฟ้า MRT
วันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 07.00-20.00 น.
วันเสาร์-อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น.
BEM
- รู้จัก BEM
- เกี่ยวกับเรา
- เหตุการณ์สำคัญ
- ข้อมูลพื้นฐาน BEM
- ลักษณะการประกอบธุรกิจ
- สารจากประธานกรรมการบริษัท
- โครงสร้างองค์กร
- คณะกรรมการบริษัท
- คณะกรรมการตรวจสอบ
- คณะกรรมการสรรหาและกําหนดค่าตอบแทน
- คณะกรรมการบรรษัทภิบาล บริหารความเสี่ยง และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
- คณะกรรมการบริหาร
- คณะผู้บริหาร
- การกํากับดูแลกิจการ
- วิสัยทัศน์และพันธกิจ
- เป้าหมายและกลยุทธ์ธุรกิจ
- นโยบายบริษัท
- ข้อบังคับบริษัท
- จรรยาบรรณบริษัท
- จรรยาบรรณนักลงทุนสัมพันธ์
- ติดต่อเลขานุการบริษัท
- การพัฒนาอย่างยั่งยืน
ข่าวประชาสัมพันธ์
ร่วมธุรกิจกับ BEM
- พัฒนาเชิงพาณิชย์
- จัดซื้อจัดจ้าง
ร่วมงานกับ BEM
- ร่วมงานกับ BEM
สงวนลิขสิทธิ์ © พ.ศ.2561 บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
Member of , APTA and NOVA.



BANGKOK MRT
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
ตอบรับไลฟ์สไตล์คนเมืองด้วยแอปพลิเคชัน Bangkok MRT ทำให้วางแผนการเดินทางเป็นเรื่องง่ายแค่ปลายนิ้วสำหรับคุณ มีครบทั้งข้อมูลรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีม่วง เช่น แผนที่เส้นทางรถไฟฟ้า แผนผังบริเวณสถานี สิ่งอำนวยความสะดวก ข่าวสารและกิจกรรม พร้อมทั้งฟังก์ชันต่างๆ ให้คุณเลือกใช้อีกเพียบ...